Call Center 1183
เปิดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ โรคฮิตค่าใช้จ่ายสูง

เปิดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ โรคฮิตค่าใช้จ่ายสูง

จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่ม "โรคหัวใจ" และหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นราย โดยอุบัติการณ์ล่าสุดพบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมาก ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป รวมถึงปัจจัยในด้านพันธุกรรม ซึ่งทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งในการรักษาพยาบาลของโรคหัวใจในแต่ละครั้ง มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมาก ทางเลือกที่ดีคือควรทำประกันภัยโรคร้ายแรง ที่คุ้มครองโรคหัวใจ


สาเหตุ และ ปัจจัยทำให้เกิดโรคหัวใจ

สาเหตุของโรคหัวใจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจนั้นๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้


ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง

เป็นสิ่งที่อาจจะมีติดตัวตั้งแต่เกิด ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากพ่อแม่ หรือประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว เช่น

  1. อายุ การมีอายุมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงตีบและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
  2. เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่า แต่สำหรับผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน
  3. พันธุกรรม ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  4. โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง, โรคเบาหวานก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ, โรคอ้วน น้ำหนักเกินมักทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ หรือระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ


ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และสามารถปรับเปลี่ยนได้

ล้วนเกิดจากการกระทำและพฤติกรรมของตัวบุคคลทั้งสิ้น เช่น

  1. สูบบุหรี่ สารนิโคตินทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่นำไปสู่อาการหัวใจวาย
  2. การรับประทานอาหาร อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล และคอเลสเตอรอลสูง สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้
  3. การไม่ออกกำลังกาย เพิ่มปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ
  4. ความเครียด ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น

ประกันภัยโรคร้ายแรง, ประกันโรคร้ายแรง ที่ไหนดี


ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ

ค่าทำบอลลูนหัวใจ

เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด เมื่อบอลลูนทำงานโดยการขยายออก จะเบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 110,000 บาท


ค่าใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ลดปัญหาการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าค่าปกติ ทั้งนี้การกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยจะช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายได้ ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 18,000 – 436,000 บาท


ค่าผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

เป็นการผ่าตัดบริเวณกึ่งกลางหน้าอกหรือผ่าตัดด้วยเทคนิคส่องกล้อง เพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม และแก้ไขลิ้นหัวใจของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 130,000 บาท (ไปจนถึงหลักล้านบาท)


ค่าผ่าตัดบายพาสหัวใจ

ในการผ่าตัดบายพาสหัวใจ จะขึ้นอยู่ดุลยพินิจของกับแพทย์ โดยวิธีรักษาจะมี  3 รูปแบบได้แก่ การผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม และการผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบแผลเล็ก ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 550,000 บาท


ค่าผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) โป่งพอง

แพทย์จะทำการวินิจฉัย ก่อนจะพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ขนาดหลอดเลือดแดงเอออร์ต้าใหญ่ที่โตเสี่ยงต่อการปริแตก หรือหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โตเร็วผิดปกติหรือไม่ ค่ารักษาเริ่มต้นประมาณ 110,000 – 768,000 บาท


ประกันคุ้มครองโรคร้าย, ประกันภัยโรคร้ายแรง


ประกันภัยโรคร้ายแรง myFlexi CI จาก ทูน โพรเทค

เมื่อเป็นโรคหัวใจแล้ว แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาถือว่าค่อนข้างสูง เนื่องจากโรคหัวใจถือว่าเป็นหนี่งโรคในกลุ่มโรคร้ายแรง การมีประประกันภัยโรคร้ายแรง ถือว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในด้านของการรักษา ซึ่งวันนี้ขอแนะนำ ประกันภัยโรคร้ายแรง myFlexi CI จาก ทูน โพรเทค ที่จะดูแลโรคร้ายในทุกระยะ และเลือกความคุ้มครองได้ตามใจ เลือกปรับเพิ่ม-ลด ความคุ้มครองได้ โดยคุ้มครอง 5 กลุ่มโรคร้ายแรง และคุ้มครองโรคร้ายทุกระยะ สูงสุดมากกว่า 3 ล้านบาท* มีค่าชดเชยรายวันและพยาบาลพิเศษ มีบริการความเห็นที่สองทางการแพทย์ และปรึกษาแพทย์ออนไลน์ คุ้มครองถึงอายุ 65 ปี สมัครได้เลย โดยไม่ต้องซื้อประกันชีวิต ตอบคำถามสุขภาพแค่ 3 ข้อ ไม่ต้องไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล ที่สำคัญเบี้ยประกันนำไปลดหย่อนภาษีได้*


ถ้ายังไม่แน่ใจว่า ประกันโรคร้ายแรง ต้องร้ายแรงแค่ไหนประกันถึงจะดูแล สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้


ซื้อประกันภัยบ้าน myHomeSmart


พอทราบถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจ ไม่มีใครอยากจะเสียเงินก้อนนี้เพื่อการรักษาเลย ซึ่งทุกท่านสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แต่ทางที่ดีการมองหาประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองโรคหัวใจ ถือว่าเป็นแผนสำรองในการใช้ชีวิต เพราะยุคสมัยนี้ โรคภัยไข้เจ็บสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และจะช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลยามเข้ารับการรักษาตัว และไม่ทิ้งภาระให้คนรอบข้างอีกด้วย


*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขของเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด สนใจสอบถามเพิ่มเติม: 1183 หรือ Line@: @tuneprotect


อ้างอิงข้อมูลจาก :

บทความน่าตกใจ สถิติชี้ชัด "โรคหัวใจ" คร่าชีวิตคนไทยเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน จาก คม ชัด ลึก

บทความโรคหัวใจ (Heart Disease) - โรงพยาบาลMedPark



บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคร้ายที่มากับการ Work ไร้ Balance

โรคร้ายที่มากับการ Work ไร้ Balance

การ work แบบไร้ balance ของชาวออฟฟิศ อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายมากกว่าที่คิด วันนี้ Tune Protect Thailand จะพาไปทำความรู้จักกับ 5 โรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้หากเราไม่ดูแลตัวเอง

โควิด และเหตุผลที่ทุกคนควรจะทำประกันโรคร้ายแรง

โควิด และเหตุผลที่ทุกคนควรจะทำประกันโรคร้ายแรง

เมื่อเราเริ่มตระหนักว่าโควิด-19 จะอยู่ต่อไปอีกนานแม้ว่าจะเริ่มมีวัคซีนแจกจ่ายอย่างแพร่หลาย บริษัทประกันจะต้องหาทางแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถอยู่กับไวรัสได้ในช่วงระยะแพร่ระบาด

ประกันโรคมะเร็งควรทำตอนอายุเท่าไหร่

ประกันโรคมะเร็งควรทำตอนอายุเท่าไหร่

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดของคนไทย ประกันมะเร็งจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการดูแลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แล้วประกันมะเร็งควรทำตอนอายุเท่าไหร่ Tune Protect มีคำตอบ