อัปเดตล่าสุด! ยาห้ามนำเข้าต่างประเทศ รู้ทันก่อนเดินทาง
แม้การไปเที่ยวต่างประเทศเป็นการเติมพลังให้กับหลายๆคนแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า บางคนอาจเกิดอาการเจ็บป่วยระหว่างเที่ยวได้ง่าย ทั้งเกิดอาการ Jet lag อ่อนเพลีย เป็นไข้ เป็นหวัด หรืออาการท้องเสีย ฯลฯ ดังนั้นหลังจากวางแผนท่องเที่ยวเรียบร้อยแล้ว การเตรียมยาไปเผื่อเจ็บป่วยระหว่างทริปก็สำคัญ แต่ก่อนที่จะเตรียมยาไปเที่ยวด้วยนั้น รู้หรือไม่ หลายประเทศมีข้อห้ามในการนำยาบางชนิดเข้าประเทศ ดังนั้น TUNE PROTECT ขอมาแนะนำว่าการพกยาไปต่างประเทศต้องทำอย่างไรบ้าง? ยาสามัญที่สามารถนำไปมียาประเภทไหน? ยาห้ามเข้าต่างประเทศมีรายการใดบ้าง? รวมถึงกรณีจำเป็นต้องนำยาเข้าควรปฏิบัติตนอย่างไร?
ยาสามัญประจำบ้านที่สามารถนำเข้าต่างประเทศได้
การจัดกระเป๋าพร้อมเตรียมยาสามัญประจำบ้านไปก็จะช่วยบรรเทาและป้องกันอาการป่วยระหว่างการเดินทางได้ ยิ่งการเดินทางไกล ข้ามหลายประเทศ ข้าม time zone อาจทำให้เกิดอาการ jet lag ทัังอาการนอนไม่หลับ เหนื่อยล้า ป่วยเมื่อยตามตัว จนเป็นสาเหตุในการป่วยหรือเที่ยวไม่สนุกได้ (jet lag คืออะไร อ่านเพิ่มเติม) อีกทั้งในบางประเทศนั้นการซื้อยาค่อนข้างลำบากหรือจำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาได้ ดังนััน การเตรียมยาเหล่านั้นไปก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยกลุ่มยาสามัญที่เตรียมไปได้ ประกอบด้วย
- ยาแก้ไข้และยาแก้ปวด ใช้รับประทานเวลาที่ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทันจนเกิดอาการไข้หนาวสั่น หรือกรณีที่เดินเที่ยวเป็นเวลานาน จนเกิดอากาศปวดเมื่อยกล้ามเยื้อ ตลอดจนลดอาการปวดประจำเดือนของผู้หญิง เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) พอนสแตน (Ponstan)
- ยาแก้ไอ ลดอาการไอ เช่น บรอมเฮกซีน (Bromhexine) สำหรับผู้มีเสมหะและกรณีไม่มีเสมหะให้ใช้เดกซ์โตรมีธอร์แฟน (Dextrometrophan)
- ยาแก้แพ้ แก้คัน เพื่อป้องกันการแพ้ อาการคันที่อาจเกิดขึ้นจากอาการหวัดหรือการแพ้ในเบื้องต้น เช่น เซทิริซีน (Cetirizine) และฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine)
- ยาแก้เมารถ เครื่องบิน และเรือ อย่างยาดรามามีน (Dramamine) ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ เวียนหัว อาเจียน
- ยากลุ่มระบบทางเดินอาหาร เช่น ผงเกลือแร่ คาร์บอน สำหรับป้องกันท้องเสีย ในกรณีที่ท้องอืด จุกเสียดสามารถเตรียมไซเมทิโคน (Simethicone) เพื่อลดอาการเหล่านั้นได้
นอกจากยาสามัญประจำบ้านพื้นฐานแล้ว การเตรียมปลาสเตอร์ปิดแผล แอลกอฮอล์ เบตาดีน ยาดม ยาอม ยาหม่อง หรือสเปรย์พ่นคอก็สามารถเตรียมไปได้เพื่อช่วยให้ทริปนี้ไม่สะดุดแล้ว และก่อนที่จะกินยาควรตรวจสอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยาที่กิน เช่น ยาบางตัวอาจทำให้มีออกฤทธิ์ง่วงซึมได้ ก็ไม่ควรกินก่อนขับรถ หรือยาบางตัวต้องกินพร้อมอาหารเพราะมีฤทธิ์กัดกระเพาะได้นั่นเอง
ยาห้ามเข้าต่างประเทศมีอะไรบ้าง?
กลุ่มยาห้ามนำเข้าต่างประเทศส่วนมากแล้ว มักเป็นกลุ่มที่มีสารซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางและถือว่าผิดกฎหมาย หากจะเตรียมยาไปญี่ปุ่นควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ TYLENOL COLD, NYQUIL, NYQUIL LIQUICAPS, ACTIFED, SUDAFED, ADVIL COLD & SINUS, DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”, DRISTAN SINUS, DRIXORAL SINUS, VICKS INHALER และ LOMOTIL ที่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 3 เพื่อใช้ในการบรรเทาอาการท้องเสีย นอกจากนี้กลุ่มยาประเภทกระตุ้นประสาท กดประสาท รักษาทางจิตเวชนั้นที่มีส่วนผสมหรือเป็นสารตั้งตนของสารเสพติด เช่น ยาอี ยาม้า แอมเฟตามีน เมทาควาโลน โคเคน เฮโรอีน กลุ่มยานอนหลับ ยา GHB ยาประเภทอนาบอลิกสเตียรอยด์ ยาระงับปวดชนิดเสพติด (Narcotics) ก็ห้ามนำเข้าในหลายประเทศอีกด้วย สำหรับประเทศเกาหลีนั้นห้ามนำยาในกลุ่มยาลดน้ำหนักหรือมีส่วนผสมไม่ชัดเจนเข้าประเทศโดยเด็ดขาด
นอกจากนี้ ไม่ควรพกยาที่มีส่วนผสมของกัญชาไป แม้จะถูกกฎหมายในประเทศไทย แต่ในประเทศเกาหลี อังกฤษ อเมริกานั้นถือเป็นกลุ่มยาห้ามเข้าต่างประเทศโดยเด็ดขาด หากพกไปอาจไม่ใช้แค่การส่งกลับ ห้ามเข้าประเทศ หรือปฏิเสธวีซ่าเท่านั้น จนอาจถึงต้องโทษสถานเดียวได้เช่นกัน
มีโรคประจำตัวสามารถนำยาไปเที่ยวด้วยได้หรือไม่?
กรณีที่มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องนำยาห้ามเข้าต่างประเทศและไม่สามารถใช้ยาชนิดอื่นแทนได้ ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อให้ออกใบรับรองแพทย์เป็นภาษาอังกฤษที่ระบุโรคที่เป็น ยาที่นำต้องใช้ และปริมาณที่ต้องใช้ จากนั้นกรอกแบบฟอร์มขออนุญาตนำเข้ายาประเทศนั้นๆ กรณีที่สามารถใช้ยาประเภทอื่นทดแทนได้สามารถให้แพทย์จ่ายยาประเภทนั้นเพื่อนำเข้าแทน โดยยาที่นำเข้าจำเป็นต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เรียบร้อย ปริมาณยาที่พกไปสอดคล้องกับจำนวนวันเดินทางและไม่ควรเกินกว่า 30 วัน มีแผงซองกล่องครบถ้วน มีฉลากยาที่ระบุเป็นภาษาอังกฤษชัดเจน ไม่ควรคัดแยกยาเป็นเม็ดหรือทำลายบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ยิ่งไปกว่านั้น การนำยาเข้าในประเทศเกาหลีจะต้องมีส่วนผสมที่ชัดเจน
นอกจากนี้ ควรพกยาติดตัวและเก็บรักษาให้ดี ไม่ควรโหลดไปพร้อมกระเป๋าสัมภาระเพราะอาจสูญหายได้ เพราะยาบางชนิดไม่สามารถซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยา จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา จำเป็นต้องพกบัตรแพ้ยาติดตัวไปด้วยเสมอ เพราะในบัตรแพ้ยาจะมีชื่อสามัญ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อรับยาชนิดนั้น ผลการประเมิน รวมถึงคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อป้องกันกรณีเจ็บป่วยและต้องรักษาด้วยยาหรือกลุ่มยาที่แพ้
เท่านี้ทุกคนก็รู้แล้วว่า ไปเที่ยวต้องเตรียมยาอะไรบ้าง? ยาอะไรห้ามนำเข้าต่างประเทศโดยเด็ดขาด และถ้าจะไปเที่ยวสิ่งสำคัญเลยยาทุกชนิดที่เตรียมไปต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์เดิมและมีฉลากยาภาษาอังกฤษชัดเจนนั่นเอง
นอกจากการเตรียมยาให้พร้อมแล้วตะลุยไปเที่ยวแล้ว การมีประกันการเดินทางต่างประเทศก็จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจยิ่งขึ้น เพราะจะให้ความคุ้มครองและรักษาอาการเจ็บป่วย รวมถึงอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น อย่าง Tune ประกันเดินทาง iTravel “เที่ยวสบายใจ…ได้ทุกที่ทั่วโลก” ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลขณะอยู่ต่างประเทศสูงสุด 4,000,000 บาท รวมถึงคุ้มครองอุบัติเหตุและการเสียชีวิต สูงสุด 5,000,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ในเครือข่ายโรงพยาบาลทั่วโลก พิเศษยิ่งขึ้นยังมีบริการบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ Health2GO ดูแลคุณ 24 ชั่วโมง นอกจากความคุ้มครองเกี่ยวกับสุขภาพแล้ว ยังมีคุ้มครองกรณีไฟลต์ดีเลย์ ตกเครื่อง หรือถูกยกเลิกการเดินทางอีกด้วย สนใจคลิกลิงก์ ที่นี่
หากท่านใดสนใจทำประกันเดินทางกับเรา สามารถเช็กข้อมูลแผนประกันเพิ่มเติม และรายละเอียดรับความคุ้มครองได้ที่เว็บไซต์ tuneprotect.co.th
*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขของเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
ติดต่อ Call center: 1183 หรือแอด Line@: @tuneprotectth ได้เช่นกัน